วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่ 11 / วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.

เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ
เพื่อนนำเสนอหน้าชั้นเรียน
นางสาวอันทิรา จำปาเกตุ
นำเสนอวิดีโอตัวอย่างการสอน เรื่อง ครูมืออาชีพคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ตอนที่ 1 ของประเทศอังกฤษ
นางสาวอรณัฐ สร้างสกุล
นำเสนอวิจัย เรื่อง การจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสเซอรี่ 

กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอการสอนหน้าชั้นเรียน
กลุ่มที่นำเสนอวันนี้ ได้แก่
หน่วยรถ (วันอังคาร) ลักษณะของรถ
หน่วยเครื่งใช้ไฟฟ้า (ลักษณะ) ลักษณะของเครื่องใช้ไฟฟ้า
หน่วยร่างกาย (วันจันทร์) ส่วนประกอบของร่างกาย
หน่วยสัตว์ (วันจันทร์) ประเภทของสัตว์ต่างๆ
โดยการสอนมี ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป
จากนั้นอาจารย์จะให้คำแนะนำและเพิ่มเติมในแต่ละส่วนเพื่อให้การสอนถูกต้องสมบรูณ์







ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการแก้ปัญหา
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการสังเกต
การนำมาประยุกต์ใช้
  • สามารถนำวิธีการสอนนี้ไปใช้ในอนาคตได้
บรรยากาศในห้องเรียน
  • โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี

การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้ลงมือทำจริง ได้คิด วิเคราะห์ และรู้จักการลองผิดลองถูก การแก้ปัญหาด้วยตนเอง

ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน

การบันทึกครั้งที่ 11 / วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.

เพื่อนนำเสนอหน้าชั้นเรียน
       1.นางสาวอันทิรา จำปาเกตุ  นำเสนอวิดีโอตัวอย่างการสอน เรื่อง ครูมืออาชีพคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันตอนที่1ของประเทศอังกฤษ
       2.นางสาวอรณัฐ สร้างสกุล  นำเสนอวิจัย เรื่อง การจัดประสบการณ์ตามแนวมอนเตสเซอรี่

    

           กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอการสอนหน้าชั้นเรียน 
 - หน่วยรถ (วันอังคาร) ลักษณะของรถ
 - หน่วยเครื่งใช้ไฟฟ้า (ลักษณะ) ลักษณะของเครื่องใช้ไฟฟ้า
 - หน่วยร่างกาย (วันจันทร์) ส่วนประกอบของร่างกาย
 - หน่วยสัตว์ (วันจันทร์) ประเภทของสัตว์ต่างๆ
    โดยการสอนมี ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นสรุป และจากนั้นอาจารย์จะให้คำแนะนำและเพิ่มเติมในแต่ละส่วนเพื่อให้การสอนถูกต้องสมบรูณ์







ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการแก้ปัญหา
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการสังเกต
การนำมาประยุกต์ใช้
  1. สามารถนำวิธีการสอนนี้ไปใช้ในอนาคตได้
  2. บรรยากาศในห้องเรียน
  3. โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน
      มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้ลงมือทำจริง ได้คิด วิเคราะห์ และรู้จักการลองผิดลองถูก การแก้ปัญหาด้วยตนเอง

ประเมินตนเอง
   ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                   
ประเมินเพื่อน
   มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม           
ประเมินอาจารย์
   แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน             
การบันทึกครั้งที่ 10 / วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.


เพื่อนนำเสนอหน้าชั้นเรียน

   
1. นางสาววิจิตรา เสริมกลิ่น
สรุปบทความ เสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล
             จากเนื้อหาของบทความได้กล่าวว่าการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็ก มักถูกคาดหวังสูง โดยถูกมุ่งหวังให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง แต่ไม่มีใครสนใจเรื่องกระบวนการคิดของเด็กว่าเขาคิดอย่างไร ทำไมถึงตอบเช่นนี้ ซึ่งหากพัฒนาเรื่องกระบวนการคิดของเด็ก จะเป็นการช่วยส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ของลูกได้เป็นอย่างดี
       กระบวนการคิด+คณิตวัยอนุบาล
          อย่างเเรกคุณพ่อคุณแม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการของเด็กๆ ว่าบางครั้งเด็กๆ ต้องการการเรียนรู้แบบตอกย้ำซ้ำทวน ต้องฝึกฝนทำบ่อยๆ นี่คือทักษะ ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์ถือเป็นทักษะการเรียนรู้ที่ต้องทำซ้ำๆ บ่อยๆ ไม่ใช่เพียงเเค่หาคำตอบที่ถูกที่สุด แต่อันที่จริงแล้วสิ่งสำคัญนั้นอยู่ที่กระบวนการคิดที่ได้มาของคำตอบต่างหาก ที่สะท้อนว่าเด็กๆ มีวิธีคิดอย่างไร
เข้าใจ Mathematical Skill เด็กวัยอนุบาล
   - เข้าใจด้วยระบบสัญลักษณ์ เด็กวัยนี้จะนับเลข 1- 5 ได้ แต่ถามว่ามีค่าเท่าไรเด็กจะยังไม่เข้าใจพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจแก่เขา โดยการใช้ระบบสัญลักษณ์ (ภาพหรือสิ่งของที่จับต้องได้) แทนตัวเลข
   - เด็กวัยอนุบาลจะทำกิจกรรมโดยใช้ประสาทสัมผัสตากับมือเป็นหลัก จะตัดสินจากสิ่งที่มองเห็น
   - ทักษะทางภาษายังต้องสั่งสม ทักษะทางภาษาเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งสำหรับเด็กวัยอนุบาลยังต้องได้รับการกระตุ้นเรื่องการสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาที่ดีขึ้น อันจะส่งผลให้เขาสามารถตั้งคำถามและอธิบายเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนได้ เช่น มีของอยู่ 3 ชิ้น คุณแม่ให้เพิ่มอีก 2 ชิ้น หากเขามีทักษะทางภาษาที่ดีเขาจะต้องเข้าใจคำว่า “เพิ่ม” คืออะไร และจะนำมาซึ่งกระบวนการคิดและตอบคำถามอย่างถูกต้อง



 2. นางสาวศิริพร พันโญศรัณยา
ตัวอย่างการสอน  ครูสอนการนับจำนวนที่ชั้นอนุบาล1/1


ทคนิคการสอน
ตอนแรกใช้การร้องเพลงและท่าประกอบตามเพลง 
อุปกรณ์ที่ใช้และวิธีการสอน
       ในการสอน แพงใส่ไข่ที่ใช่แล้ว ลูกปิงปอง ตะกร้า วาดภาพไก่ติดไว้ที่ตะกร้าแล้วเขียนตัวเลขที่ตัวไก่ที่เราวาดไว้เริ่มจาก 1-ไปเรื่อยๆการสอนให้เด็กออกมาเปิดไก่ที่เราวาดติดไว้ว่าเป็นตัวเลขอ่ะไรให้เด็ก
ยิบลูกปิงปองใส่ลงในแพงไข่ให้ถูกตามที่เราเปิดตัวเลขที่แม่ไก่ให้เด็กๆออกมาที่ล่ะคน


 3. นางสาวจีรวรรณ งามขำ
สรุปวิจัยเรื่อง การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


              การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อสรางหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพรอมทางคณิตศาสตร เรื่องการรูคาของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัย ศึกษาผลการเตรียมความพรอมทางคณิตศาสตรเรื่องการรูคาของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัย หลังการใชหนังสือภาพและศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีตอหนังสือภาพ 

แผนการจัดประสบการณเพื่อเตรียมความพรอมทางคณิตศาสตร 
  เรื่องการรูคาของตัวเลข 0 – 9 จํานวน 12 แผนแบบทดสอบความพรอมทางคณิตศาสตร
         เด็กปฐมวัยหลังใชหนังสือภาพ จํานวน 10 ชุด และแบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีตอหนังสือภาพจํานวน 1 ชุดวิเคราะหขอมูลโดยการหาคาเฉลี่ยรอยละของคะแนนความพรอมทางคณิตศาสตรแลวเปรียบเทียบกับเกณฑที่ตั้งไวของโรงเรียนรอยละ 60.00 และนําเสนอขอมูลโดยใชตารางประกอบคําบรรยาย สวนความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีตอหนังสือภาพวิเคราะหขอมูลโดยการหาคาเฉลี่ย(และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)และนําเสนอขอมูลโดยใชตารางประกอบคําบรรยาย 
                  



        กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดเกี่ยวกับวิธีการสอนในหน่วยที่ตัวเองได้รับมอบหมาย โดยอาจารย์คอยแนะนำและอธิบายให้ฟัง และอาจารย์ให้นักศึกษานั่งกันเป็นกลุ่มนั่งเรียงตามวันที่แต่ละคนไปร่างแผนการสอนมา และอาจารย์ถามแต่ละกลุ่มว่าวันจันทร์ หัวข้ออะไรและจัดกิจกรรมอะไร 
กลุ่มของดิฉันคือ"หน่วยบ้าน"
   1.ประเภท 
   2.ลักษณะ 
   3.การดูแลรักษา
   4.ประโยชน์
   5.ข้อควรระวัง

ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการแก้ปัญหา
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการสังเกต
การนำมาประยุกต์ใช้
  1. สามารถนำวิธีการสอนนี้ไปใช้ในอนาคตได้
  2. บรรยากาศในห้องเรียน
  3. โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
 การจัดการเรียนการสอน
            มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้ลงมือทำจริง ได้คิด วิเคราะห์ และรู้จักการลองผิดลองถูก การแก้ปัญหาด้วยตนเอง


ประเมินตนเอง

  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                  

ประเมินเพื่อน


  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม          

ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน
การบันทึกครั้งที่ 9 / วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.



เนื้อหาความรู้ที่ได้รับ
    อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาทำ Mind Mapping เป็นกลุ่มโดยให้นักศึกษาคิดหัวข้อเรื่องที่สนใจมา1หัวข้อโดยอาจารย์ให้นักศึกษาระดมความคิดตามหัวข้อที่นักศึกษากำหนด
    ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งหัวข้อย่อยของตนเองมา 1 หัวข้อ เพื่อคิดวิธีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใดให้เชื่อมโยงกับวิชาคณิตศาสตร์


  • ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการแก้ปัญหา
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการสังเกต

การนำมาประยุกต์ใช้

  1. สามารถนำวิธีการสอนนี้ไปใช้ในอนาคตได้
  2. บรรยากาศในห้องเรียน
  3. โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี


การจัดการเรียนการสอน
    มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้ลงมือทำจริง ได้คิด วิเคราะห์ และรู้จักการลองผิดลองถูก การแก้ปัญหาด้วยตนเอง

ประเมินตนเอง
    ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                   
ประเมินเพื่อน
    มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม           
ประเมินอาจารย์
    แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

ใบงานวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

......ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์....
วันที่ 2 มีนาคม 2559
เวลา 8.00 - 15.00 น.






การจัดสภาพแวดล้อม กิจกรรม สื่อการสอน ที่เกี่ยวข้องหรือส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์




  • ใช้จัดกิจกรรมกับเด็กอย่างไร             
             - เอาหินไปใส่ในกล่อง เจาะรูให้เด็กลองเอามือล้วงลงไปจับ แล้วให้บอกลักษณะ หรือ เอาออกมาให้เด็กเห็น แล้วบอกลักษณะ
             - ให้เด็กเเยกประเภทของหิน
             - ให้เด็กเปรียบเทียบขนาด แล้วนำมาเรียง จากใหญ่ไปหาเล็กหรือจากเล็กไปหาใหญ่
             - จับคู่หินที่เหมือนกัน บอกความเหมือนความต่าง
  • วัดเเละประเมินผลอย่างไร
           สังเกตจากการทำกิจกรรม เด็กสามารถบอกรูปทรงรูปร่าง บอกขนาด บอกจำนวน บอกความเหมือนความเเตกต่าง และจัดหมวดหมู่ได้






  • ใช้จัดกิจกรรมกับเด็กอย่างไร      
             - ให้เด็กบอกความเหมือนความแต่งต่างระหว่างของ 2 สิ่ง

  • วัดเเละประเมินผลอย่างไร
          สังเกตจากการทำกิจกรรม เด็กสามารถบอกความเหมือนความเเตกต่างระหว่างของ 2 สิ่งได้








  • ใช้จัดกิจกรรมกับเด็กอย่างไร  
            - ให้เด็กตัดปะลงในรูปที่กำหนดมาให้
            - ให้เด็กได้ลงมือฉีกกระดาษเอง แล้วเปรียบเทียบขนาด
  • วัดเเละประเมินผลอย่างไร
             สังเกตจากการทำกิจกรรม เด็กสามารถบอกขนาด รูปทรง เรียงลำดับ และตำเเหน่งที่จะแปะได้







  • ใช้จัดกิจกรรมกับเด็กอย่างไร  
              - ให้เด็กนับเเละบอกจำนวน
              - ให้เด็กบอกส่วนประกอบต่างๆ
              - ให้เด็กเเยกสี สามารถทำน้ำได้หลากหลายสี
              - เปรียบเทียบจำนวนน้ำในภาชนะ น้ำกับเพื่อน
              - เรียงลำดับ น้ำในภาชนะ
              - ให้เด็บอกรูปทรง เมื่อเปลี่ยนน้ำใส่ภาชะอื่น
  • วัดเเละประเมินผลอย่างไร
                สังเกตจากการทำกิจกรรม เด็กสามารถนับและบอกจำนวนได้ เปรียบเทียบจำนวนน้ำกับจำนวนคนได้  เปรียบเทียบจำนวนน้ำในภาชนะ มากกว่า/น้อยกว่า/เท่ากับ เรียงลำดับ บอกส่วนประกอบ เเยกสีแต่ละสี และบอกรูปทรงเมื่อน้ำเปลี่ยนไปอยู่ในภาชนะอื่นได้
***ใช้ในกิจกรรมใดบ้าง***
             สามารถนำมาใช้ร่วมในกิจกรรมทั้ง 6 หลักได้ แล้วเเต่ครูผู้สอนจะจัด และต้องเน้นให้สอดคล้องกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน และสอดคล้องกับหลักคณิตศาสตร์ให้เด็กควรได้รับการเรียนรู้ครบทั้ง 6 สาระ






>>>การเรียนการสอนเเบบโครงการ Project Approach<<<



ภาพ ผลการอภิปรายกลุ่ม 
ของโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์


 ภาพ แบบสำรวจข้อมูล
และจัดแสดงของโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์


       การเรียนการสอนแบบโครงการ คือ การสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกตามหัวเรื่องที่เด็กสนใจควรแก่การเรียนรู้ โดยปกติการสืบค้นจะทำโดยเด็กกลุ่มเล็กๆ ที่อยู่ในชั้นเรียนหรือเด็กทั้งชั้นร่วมกัน หรือบางโอกาสอาจเป็นเพียงเด็กคนใดคนหนึ่งเท่านั้น จุดเด่นของโครงการ คือ พยายามที่จะค้นหาคำตอบจากคำถามที่เกี่ยวกับ หัวเรื่องไม่ว่าคำถามนั้นจะมาจากเด็ก จากครู หรือจากเด็กและครูร่วมกันก็ตาม 
จุดประสงค์ของโครงการ คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับหัวเรื่องมากกว่าการเสาะแสวงหาคำตอบที่ถูกต้องเพื่อตอบคำถามที่ครูเป็นผู้ถาม 

ลักษณะโครงสร้างของการปฏิบัติโครงการ 5 ข้อ  คือ
            1.การอภิปรายกลุ่ม ในงานโครงการครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก และช่วยให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การพบปะสนทนากันในกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้นทำให้เด็กมีโอกาสที่จะอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
              2.การศึกษานอกสถานที่  สำหรับเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องเสียเงินเป็นจำนวนมาก  เพื่อพาเด็กไปยังสถานที่ไกลๆ ประสบการณ์ในระยะแรกครูอาจพาไปทัศนศึกษานอกห้องเรียน ได้เรียนรู้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน  เช่น ร้านค้า  ถนนหนทาง  ป้ายสัญญาณงานบริการต่างๆ ฯลฯ  จะช่วยให้เด็กเข้าโลกที่แวดล้อม มีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความรู้เชี่ยวชาญในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ  ซึ่งถือเป็นประสบการณ์เรียนรู้ขั้นแรกของงานศึกษาค้นคว้า 
              3.การนำเสนอประสบการณ์เดิม   เด็กสามารถที่จะทบทวนประสบการณ์เดิมในหัวเรื่องที่ตนสนใจ  มีการอภิปราย  แสดงความคิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน  รวมทั้งแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวข้อเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้เด็กแต่ละคนสามารถที่จะเสนอประสบการณ์ที่ตนมีให้เพื่อนในชั้นได้รู้ด้วยวิธีการอันหลากหลายเสมือนเป็นการพัฒนาทักษะเบื้องต้น  ไม่ว่าจะเป็นการเขียนภาพ  การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์  การเล่น บทบาทสมมติ และการก่อสร้างแบบต่างๆ 
              4.การสืบค้น  งานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่าง หลากหลายตามหัวเรื่องที่สนใจ เด็กสามารถสัมภาษณ์พ่อแม่ผู้ปกครองของตนเอง บุคคลในครอบครัว เพื่อนนอกโรงเรียน สามารถหาคำตอบของตนด้วยการศึกษานอกสถานที่ สามารถสัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นที่มีความรอบรู้ในหัวเรื่อง อาจสำรวจวิเคราะห์วัตถุสิ่งของด้วยตนเอง เขียนโครงร่าง หรือใช้แว่นขยายส่องวัตถุต่างๆ หรืออาจใช้หนังสือในชั้นเรียนหรือในห้องสมุดทำการค้นคว้า
              5. การจัดแสดง  การจัดแสดงทำได้หลายรูปแบบ  อาจใช้ฝาผนังหรือป้าย  จัดแสดงงานของเด็กเป็นการแลกเปลี่ยนความคิด  ความรู้ที่ได้รับจากการสืบค้น   แก่เพื่อนในชั้น  ครูสามารถให้เด็กในชั้น ได้รับทราบความก้าวหน้าในการสืบค้นโดยจัดให้มีการอภิปรายหรือการจัดแสดง ทั้งจะเป็นโอกาสให้เด็กและครูได้เล่าเรื่องงานโครงการที่ทำแก่ผู้มาเยี่ยมเยียนโรงเรียนอีกด้วย

.....การประเมินผลโครงการ.....
  • แบบประเมิน
  • แสดงความคิดเห็น
  • เสนอแนะ
  • บทสะท้อนตนเอง ของเด็ก ครู ผู้ปกครอง
การบันทึกครั้งที่ 7 / วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.


  • กิจกรรมแรก เพื่อนนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  1. นางสาวปฐมพร  จันวิมล นำเสนอบทความ คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยกับการเล่นรอบตัว
  2. นางสาวกษมา  แดงฤทธิ์ นำเสนอตัวอย่างการสอน สื่อการสอนเรื่องการบวก
  3. นางสาวนภัสสร  คล้ายพันธ์ นำเสนอวิจัย การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope)

  • กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน โดยให้แต่ละกลุ่มตัดกระดาษที่อาจารย์ให้มาตามขนาดที่อาจารย์กำหนดให้และแปะกระดาษสีขาวทับไป



  • ความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรมนี้คือ : 
  1. ฝึกการวางแผนการตัดกระดาษว่าทำอย่างไร จะตัดกระดาษให้ประหยัดที่สุดเพื่อนำกระดาษที่เหลือไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้อีก
  2. ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้เกิดความสามัคคีกันภายในกลุ่ม
  3. ฝึกการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
  4. ฝึกการวางแผนว่าจะตัดกระดาษอย่างไรให้ประหยัดที่สุด

  •  อาจารย์สอนการจัดประสบการณ์ให้เด็ก โดยการให้เด็กฝึกคิดเลขจากสิ่งของที่อยู่รอบๆ ตัว เช่น คิดเลขจากรังใส่ไข่ , การปั้นดินน้ำมันเป็นตัวเลข , การเขียนตัวเลขกลางอากาศ เป็นต้น เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถนำความรู้ที่มีไปต่อยอดในอนาคตได้
ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการแก้ปัญหา
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะรูปทรง
การนำมาประยุกต์ใช้
  • สามารถนำวิธีการสอนนี้ไปใช้ในอนาคตได้
บรรยากาศในห้องเรียน
  • โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี

การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้ลงมือทำจริง ได้คิด วิเคราะห์ และรู้จักการลองผิดลองถูก การแก้ปัญหาด้วยตนเอง

ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน
การบันทึกครั้งที่ 6 / วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.

  • การจัดประสบการณ์ การเรียนการสอนโดยการแก้ปัญหา โดยครูตั้งปัญหาให้เด็กได้ทดลองลงมือทำ แก้ปัญหา และสร้างผลงานด้วยตนเอง โดยมีโครงสร้างดังนี้  วิเคราะห์แนวคิด ศึกษาวัสดุที่มีอยู่ ลงมือทำ นำเสนอ

ตัวอย่างกิจกรรม 

  • จัดกิจกรรมเกี่ยวกับรูปทรง ให้เด็กคุ้นเคยกับรูปทรงต่างๆผ่านการเล่นบล็อก เกมส์การศึกษา หรือสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว 
  • ครูทำรูปแบบที่ให้เด็กเห็นภาพจริง เช่น การตัดไม้มาต่อเป็นรูปร่างแล้วเอาดินน้ำมันเป็นฐานยึด
  • เด็กยังไม่เห็นด้านของรูปทรงนั้นๆ วิธีการเรียนรู้ คือ ครูให้เด็กตัดกระดาษมาแปะ ตามด้านของรูปทรงนั้นๆ เพื่อให้เด็กเห็นภาพชัดขึ้น เกิดทักษะต่างๆ คือ
  • E (engineering) = โครงส้ราง
  • S (Science) = ดินน้ำมัน ไม้
  • T (technology) = การนำเสนอ
  • M (mathematics) = จำนวนนับไม้ จำนวนมุม ความสั้น ยาว การวัด รูปทรง
ภาพกิจกรรมต่าง ๆ







  • การจัดประสบการณ์คณิตศาตร์บรูณาการศิลปะสร้างสรรค์
- การสร้างโมเดลโครงสร้างรูปทรง ให้เด็กต่อเติมเป็นรูปต่างๆ ผ่านศิลปะ
-ให้เด็กวาดภาพตามจินตนาการ แล้วนำมาบรูณาการคณิตศาสตร์ ได้ 2 แบบ คือ
     1. ถามเด็กโดยตั้งจำนวนก่อน เช่น ในภาพของเด็กๆ มีอะไรบ้างที่มี 3 จำนวน
     2. ให้เด็กนับจำนวนจากสิ่งที่เด็กวาดว่ามีจำนวนเท่าไหร่
ครูอนุบาลต้องดึงสิ่งที่เด็กมีออกมาและจัดประสบการณ์ การจัดประสบการณ์นั้นต้องสอดคล้องกับชีวิตประจำวันเพราะ
ประสบการณ์เดิม >> สู่ประสบการณ์ใหม่ >> สู่การปรับโครงสร้าง >> การรับรู้ >> เกิดการเรียนรู้ >> เพื่อเอาตัวรอด

ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการแก้ปัญหา
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะรูปทรง
  • ทักษะการตอบคำถาม
การนำมาประยุกต์ใช้
  • วิธีการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กนั้นเราต้องดึงสิ่งที่เด็กมีออกมา แล้วนำมาจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็กให้เด็กสามารถดึงทุกอย่างมาบูรณาการในคณิตศาสตร์ได้ 

บรรยากาศในห้องเรียน
  • โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี

การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้ลงมือทำจริง ได้คิด วิเคราะห์ และรู้จักการลองผิดลองถูก การแก้ปัญหา

ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                       
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน