วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

ใบงานวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

......ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์....
วันที่ 2 มีนาคม 2559
เวลา 8.00 - 15.00 น.






การจัดสภาพแวดล้อม กิจกรรม สื่อการสอน ที่เกี่ยวข้องหรือส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์




  • ใช้จัดกิจกรรมกับเด็กอย่างไร             
             - เอาหินไปใส่ในกล่อง เจาะรูให้เด็กลองเอามือล้วงลงไปจับ แล้วให้บอกลักษณะ หรือ เอาออกมาให้เด็กเห็น แล้วบอกลักษณะ
             - ให้เด็กเเยกประเภทของหิน
             - ให้เด็กเปรียบเทียบขนาด แล้วนำมาเรียง จากใหญ่ไปหาเล็กหรือจากเล็กไปหาใหญ่
             - จับคู่หินที่เหมือนกัน บอกความเหมือนความต่าง
  • วัดเเละประเมินผลอย่างไร
           สังเกตจากการทำกิจกรรม เด็กสามารถบอกรูปทรงรูปร่าง บอกขนาด บอกจำนวน บอกความเหมือนความเเตกต่าง และจัดหมวดหมู่ได้






  • ใช้จัดกิจกรรมกับเด็กอย่างไร      
             - ให้เด็กบอกความเหมือนความแต่งต่างระหว่างของ 2 สิ่ง

  • วัดเเละประเมินผลอย่างไร
          สังเกตจากการทำกิจกรรม เด็กสามารถบอกความเหมือนความเเตกต่างระหว่างของ 2 สิ่งได้








  • ใช้จัดกิจกรรมกับเด็กอย่างไร  
            - ให้เด็กตัดปะลงในรูปที่กำหนดมาให้
            - ให้เด็กได้ลงมือฉีกกระดาษเอง แล้วเปรียบเทียบขนาด
  • วัดเเละประเมินผลอย่างไร
             สังเกตจากการทำกิจกรรม เด็กสามารถบอกขนาด รูปทรง เรียงลำดับ และตำเเหน่งที่จะแปะได้







  • ใช้จัดกิจกรรมกับเด็กอย่างไร  
              - ให้เด็กนับเเละบอกจำนวน
              - ให้เด็กบอกส่วนประกอบต่างๆ
              - ให้เด็กเเยกสี สามารถทำน้ำได้หลากหลายสี
              - เปรียบเทียบจำนวนน้ำในภาชนะ น้ำกับเพื่อน
              - เรียงลำดับ น้ำในภาชนะ
              - ให้เด็บอกรูปทรง เมื่อเปลี่ยนน้ำใส่ภาชะอื่น
  • วัดเเละประเมินผลอย่างไร
                สังเกตจากการทำกิจกรรม เด็กสามารถนับและบอกจำนวนได้ เปรียบเทียบจำนวนน้ำกับจำนวนคนได้  เปรียบเทียบจำนวนน้ำในภาชนะ มากกว่า/น้อยกว่า/เท่ากับ เรียงลำดับ บอกส่วนประกอบ เเยกสีแต่ละสี และบอกรูปทรงเมื่อน้ำเปลี่ยนไปอยู่ในภาชนะอื่นได้
***ใช้ในกิจกรรมใดบ้าง***
             สามารถนำมาใช้ร่วมในกิจกรรมทั้ง 6 หลักได้ แล้วเเต่ครูผู้สอนจะจัด และต้องเน้นให้สอดคล้องกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน และสอดคล้องกับหลักคณิตศาสตร์ให้เด็กควรได้รับการเรียนรู้ครบทั้ง 6 สาระ






>>>การเรียนการสอนเเบบโครงการ Project Approach<<<



ภาพ ผลการอภิปรายกลุ่ม 
ของโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์


 ภาพ แบบสำรวจข้อมูล
และจัดแสดงของโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์


       การเรียนการสอนแบบโครงการ คือ การสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกตามหัวเรื่องที่เด็กสนใจควรแก่การเรียนรู้ โดยปกติการสืบค้นจะทำโดยเด็กกลุ่มเล็กๆ ที่อยู่ในชั้นเรียนหรือเด็กทั้งชั้นร่วมกัน หรือบางโอกาสอาจเป็นเพียงเด็กคนใดคนหนึ่งเท่านั้น จุดเด่นของโครงการ คือ พยายามที่จะค้นหาคำตอบจากคำถามที่เกี่ยวกับ หัวเรื่องไม่ว่าคำถามนั้นจะมาจากเด็ก จากครู หรือจากเด็กและครูร่วมกันก็ตาม 
จุดประสงค์ของโครงการ คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับหัวเรื่องมากกว่าการเสาะแสวงหาคำตอบที่ถูกต้องเพื่อตอบคำถามที่ครูเป็นผู้ถาม 

ลักษณะโครงสร้างของการปฏิบัติโครงการ 5 ข้อ  คือ
            1.การอภิปรายกลุ่ม ในงานโครงการครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก และช่วยให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การพบปะสนทนากันในกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้นทำให้เด็กมีโอกาสที่จะอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
              2.การศึกษานอกสถานที่  สำหรับเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องเสียเงินเป็นจำนวนมาก  เพื่อพาเด็กไปยังสถานที่ไกลๆ ประสบการณ์ในระยะแรกครูอาจพาไปทัศนศึกษานอกห้องเรียน ได้เรียนรู้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน  เช่น ร้านค้า  ถนนหนทาง  ป้ายสัญญาณงานบริการต่างๆ ฯลฯ  จะช่วยให้เด็กเข้าโลกที่แวดล้อม มีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความรู้เชี่ยวชาญในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ  ซึ่งถือเป็นประสบการณ์เรียนรู้ขั้นแรกของงานศึกษาค้นคว้า 
              3.การนำเสนอประสบการณ์เดิม   เด็กสามารถที่จะทบทวนประสบการณ์เดิมในหัวเรื่องที่ตนสนใจ  มีการอภิปราย  แสดงความคิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน  รวมทั้งแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวข้อเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้เด็กแต่ละคนสามารถที่จะเสนอประสบการณ์ที่ตนมีให้เพื่อนในชั้นได้รู้ด้วยวิธีการอันหลากหลายเสมือนเป็นการพัฒนาทักษะเบื้องต้น  ไม่ว่าจะเป็นการเขียนภาพ  การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์  การเล่น บทบาทสมมติ และการก่อสร้างแบบต่างๆ 
              4.การสืบค้น  งานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่าง หลากหลายตามหัวเรื่องที่สนใจ เด็กสามารถสัมภาษณ์พ่อแม่ผู้ปกครองของตนเอง บุคคลในครอบครัว เพื่อนนอกโรงเรียน สามารถหาคำตอบของตนด้วยการศึกษานอกสถานที่ สามารถสัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นที่มีความรอบรู้ในหัวเรื่อง อาจสำรวจวิเคราะห์วัตถุสิ่งของด้วยตนเอง เขียนโครงร่าง หรือใช้แว่นขยายส่องวัตถุต่างๆ หรืออาจใช้หนังสือในชั้นเรียนหรือในห้องสมุดทำการค้นคว้า
              5. การจัดแสดง  การจัดแสดงทำได้หลายรูปแบบ  อาจใช้ฝาผนังหรือป้าย  จัดแสดงงานของเด็กเป็นการแลกเปลี่ยนความคิด  ความรู้ที่ได้รับจากการสืบค้น   แก่เพื่อนในชั้น  ครูสามารถให้เด็กในชั้น ได้รับทราบความก้าวหน้าในการสืบค้นโดยจัดให้มีการอภิปรายหรือการจัดแสดง ทั้งจะเป็นโอกาสให้เด็กและครูได้เล่าเรื่องงานโครงการที่ทำแก่ผู้มาเยี่ยมเยียนโรงเรียนอีกด้วย

.....การประเมินผลโครงการ.....
  • แบบประเมิน
  • แสดงความคิดเห็น
  • เสนอแนะ
  • บทสะท้อนตนเอง ของเด็ก ครู ผู้ปกครอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น