วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

ใบงานวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

......ศึกษาดูงาน ณ โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์....
วันที่ 2 มีนาคม 2559
เวลา 8.00 - 15.00 น.






การจัดสภาพแวดล้อม กิจกรรม สื่อการสอน ที่เกี่ยวข้องหรือส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์




  • ใช้จัดกิจกรรมกับเด็กอย่างไร             
             - เอาหินไปใส่ในกล่อง เจาะรูให้เด็กลองเอามือล้วงลงไปจับ แล้วให้บอกลักษณะ หรือ เอาออกมาให้เด็กเห็น แล้วบอกลักษณะ
             - ให้เด็กเเยกประเภทของหิน
             - ให้เด็กเปรียบเทียบขนาด แล้วนำมาเรียง จากใหญ่ไปหาเล็กหรือจากเล็กไปหาใหญ่
             - จับคู่หินที่เหมือนกัน บอกความเหมือนความต่าง
  • วัดเเละประเมินผลอย่างไร
           สังเกตจากการทำกิจกรรม เด็กสามารถบอกรูปทรงรูปร่าง บอกขนาด บอกจำนวน บอกความเหมือนความเเตกต่าง และจัดหมวดหมู่ได้






  • ใช้จัดกิจกรรมกับเด็กอย่างไร      
             - ให้เด็กบอกความเหมือนความแต่งต่างระหว่างของ 2 สิ่ง

  • วัดเเละประเมินผลอย่างไร
          สังเกตจากการทำกิจกรรม เด็กสามารถบอกความเหมือนความเเตกต่างระหว่างของ 2 สิ่งได้








  • ใช้จัดกิจกรรมกับเด็กอย่างไร  
            - ให้เด็กตัดปะลงในรูปที่กำหนดมาให้
            - ให้เด็กได้ลงมือฉีกกระดาษเอง แล้วเปรียบเทียบขนาด
  • วัดเเละประเมินผลอย่างไร
             สังเกตจากการทำกิจกรรม เด็กสามารถบอกขนาด รูปทรง เรียงลำดับ และตำเเหน่งที่จะแปะได้







  • ใช้จัดกิจกรรมกับเด็กอย่างไร  
              - ให้เด็กนับเเละบอกจำนวน
              - ให้เด็กบอกส่วนประกอบต่างๆ
              - ให้เด็กเเยกสี สามารถทำน้ำได้หลากหลายสี
              - เปรียบเทียบจำนวนน้ำในภาชนะ น้ำกับเพื่อน
              - เรียงลำดับ น้ำในภาชนะ
              - ให้เด็บอกรูปทรง เมื่อเปลี่ยนน้ำใส่ภาชะอื่น
  • วัดเเละประเมินผลอย่างไร
                สังเกตจากการทำกิจกรรม เด็กสามารถนับและบอกจำนวนได้ เปรียบเทียบจำนวนน้ำกับจำนวนคนได้  เปรียบเทียบจำนวนน้ำในภาชนะ มากกว่า/น้อยกว่า/เท่ากับ เรียงลำดับ บอกส่วนประกอบ เเยกสีแต่ละสี และบอกรูปทรงเมื่อน้ำเปลี่ยนไปอยู่ในภาชนะอื่นได้
***ใช้ในกิจกรรมใดบ้าง***
             สามารถนำมาใช้ร่วมในกิจกรรมทั้ง 6 หลักได้ แล้วเเต่ครูผู้สอนจะจัด และต้องเน้นให้สอดคล้องกับพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน และสอดคล้องกับหลักคณิตศาสตร์ให้เด็กควรได้รับการเรียนรู้ครบทั้ง 6 สาระ






>>>การเรียนการสอนเเบบโครงการ Project Approach<<<



ภาพ ผลการอภิปรายกลุ่ม 
ของโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์


 ภาพ แบบสำรวจข้อมูล
และจัดแสดงของโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์


       การเรียนการสอนแบบโครงการ คือ การสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกตามหัวเรื่องที่เด็กสนใจควรแก่การเรียนรู้ โดยปกติการสืบค้นจะทำโดยเด็กกลุ่มเล็กๆ ที่อยู่ในชั้นเรียนหรือเด็กทั้งชั้นร่วมกัน หรือบางโอกาสอาจเป็นเพียงเด็กคนใดคนหนึ่งเท่านั้น จุดเด่นของโครงการ คือ พยายามที่จะค้นหาคำตอบจากคำถามที่เกี่ยวกับ หัวเรื่องไม่ว่าคำถามนั้นจะมาจากเด็ก จากครู หรือจากเด็กและครูร่วมกันก็ตาม 
จุดประสงค์ของโครงการ คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับหัวเรื่องมากกว่าการเสาะแสวงหาคำตอบที่ถูกต้องเพื่อตอบคำถามที่ครูเป็นผู้ถาม 

ลักษณะโครงสร้างของการปฏิบัติโครงการ 5 ข้อ  คือ
            1.การอภิปรายกลุ่ม ในงานโครงการครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้เด็ก และช่วยให้เด็กแต่ละคนมีโอกาสแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การพบปะสนทนากันในกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่ทั้งชั้นทำให้เด็กมีโอกาสที่จะอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
              2.การศึกษานอกสถานที่  สำหรับเด็กปฐมวัยไม่จำเป็นต้องเสียเงินเป็นจำนวนมาก  เพื่อพาเด็กไปยังสถานที่ไกลๆ ประสบการณ์ในระยะแรกครูอาจพาไปทัศนศึกษานอกห้องเรียน ได้เรียนรู้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่อยู่รอบบริเวณโรงเรียน  เช่น ร้านค้า  ถนนหนทาง  ป้ายสัญญาณงานบริการต่างๆ ฯลฯ  จะช่วยให้เด็กเข้าโลกที่แวดล้อม มีโอกาสพบปะกับบุคคลที่มีความรู้เชี่ยวชาญในหัวเรื่องที่เด็กสนใจ  ซึ่งถือเป็นประสบการณ์เรียนรู้ขั้นแรกของงานศึกษาค้นคว้า 
              3.การนำเสนอประสบการณ์เดิม   เด็กสามารถที่จะทบทวนประสบการณ์เดิมในหัวเรื่องที่ตนสนใจ  มีการอภิปราย  แสดงความคิดเห็นในประสบการณ์ที่เหมือนหรือแตกต่างกับเพื่อน  รวมทั้งแสดงคำถามที่ต้องการสืบค้นในหัวข้อเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้เด็กแต่ละคนสามารถที่จะเสนอประสบการณ์ที่ตนมีให้เพื่อนในชั้นได้รู้ด้วยวิธีการอันหลากหลายเสมือนเป็นการพัฒนาทักษะเบื้องต้น  ไม่ว่าจะเป็นการเขียนภาพ  การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์  การเล่น บทบาทสมมติ และการก่อสร้างแบบต่างๆ 
              4.การสืบค้น  งานโครงการเปิดกว้างให้ใช้แหล่งค้นคว้าข้อมูลอย่าง หลากหลายตามหัวเรื่องที่สนใจ เด็กสามารถสัมภาษณ์พ่อแม่ผู้ปกครองของตนเอง บุคคลในครอบครัว เพื่อนนอกโรงเรียน สามารถหาคำตอบของตนด้วยการศึกษานอกสถานที่ สามารถสัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นที่มีความรอบรู้ในหัวเรื่อง อาจสำรวจวิเคราะห์วัตถุสิ่งของด้วยตนเอง เขียนโครงร่าง หรือใช้แว่นขยายส่องวัตถุต่างๆ หรืออาจใช้หนังสือในชั้นเรียนหรือในห้องสมุดทำการค้นคว้า
              5. การจัดแสดง  การจัดแสดงทำได้หลายรูปแบบ  อาจใช้ฝาผนังหรือป้าย  จัดแสดงงานของเด็กเป็นการแลกเปลี่ยนความคิด  ความรู้ที่ได้รับจากการสืบค้น   แก่เพื่อนในชั้น  ครูสามารถให้เด็กในชั้น ได้รับทราบความก้าวหน้าในการสืบค้นโดยจัดให้มีการอภิปรายหรือการจัดแสดง ทั้งจะเป็นโอกาสให้เด็กและครูได้เล่าเรื่องงานโครงการที่ทำแก่ผู้มาเยี่ยมเยียนโรงเรียนอีกด้วย

.....การประเมินผลโครงการ.....
  • แบบประเมิน
  • แสดงความคิดเห็น
  • เสนอแนะ
  • บทสะท้อนตนเอง ของเด็ก ครู ผู้ปกครอง
การบันทึกครั้งที่ 7 / วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.


  • กิจกรรมแรก เพื่อนนำเสนอหน้าชั้นเรียน
  1. นางสาวปฐมพร  จันวิมล นำเสนอบทความ คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยกับการเล่นรอบตัว
  2. นางสาวกษมา  แดงฤทธิ์ นำเสนอตัวอย่างการสอน สื่อการสอนเรื่องการบวก
  3. นางสาวนภัสสร  คล้ายพันธ์ นำเสนอวิจัย การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮสโคป (High Scope)

  • กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน โดยให้แต่ละกลุ่มตัดกระดาษที่อาจารย์ให้มาตามขนาดที่อาจารย์กำหนดให้และแปะกระดาษสีขาวทับไป



  • ความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรมนี้คือ : 
  1. ฝึกการวางแผนการตัดกระดาษว่าทำอย่างไร จะตัดกระดาษให้ประหยัดที่สุดเพื่อนำกระดาษที่เหลือไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้อีก
  2. ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้เกิดความสามัคคีกันภายในกลุ่ม
  3. ฝึกการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
  4. ฝึกการวางแผนว่าจะตัดกระดาษอย่างไรให้ประหยัดที่สุด

  •  อาจารย์สอนการจัดประสบการณ์ให้เด็ก โดยการให้เด็กฝึกคิดเลขจากสิ่งของที่อยู่รอบๆ ตัว เช่น คิดเลขจากรังใส่ไข่ , การปั้นดินน้ำมันเป็นตัวเลข , การเขียนตัวเลขกลางอากาศ เป็นต้น เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้และสามารถนำความรู้ที่มีไปต่อยอดในอนาคตได้
ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการแก้ปัญหา
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะรูปทรง
การนำมาประยุกต์ใช้
  • สามารถนำวิธีการสอนนี้ไปใช้ในอนาคตได้
บรรยากาศในห้องเรียน
  • โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี

การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้ลงมือทำจริง ได้คิด วิเคราะห์ และรู้จักการลองผิดลองถูก การแก้ปัญหาด้วยตนเอง

ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                     
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน
การบันทึกครั้งที่ 6 / วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.

  • การจัดประสบการณ์ การเรียนการสอนโดยการแก้ปัญหา โดยครูตั้งปัญหาให้เด็กได้ทดลองลงมือทำ แก้ปัญหา และสร้างผลงานด้วยตนเอง โดยมีโครงสร้างดังนี้  วิเคราะห์แนวคิด ศึกษาวัสดุที่มีอยู่ ลงมือทำ นำเสนอ

ตัวอย่างกิจกรรม 

  • จัดกิจกรรมเกี่ยวกับรูปทรง ให้เด็กคุ้นเคยกับรูปทรงต่างๆผ่านการเล่นบล็อก เกมส์การศึกษา หรือสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว 
  • ครูทำรูปแบบที่ให้เด็กเห็นภาพจริง เช่น การตัดไม้มาต่อเป็นรูปร่างแล้วเอาดินน้ำมันเป็นฐานยึด
  • เด็กยังไม่เห็นด้านของรูปทรงนั้นๆ วิธีการเรียนรู้ คือ ครูให้เด็กตัดกระดาษมาแปะ ตามด้านของรูปทรงนั้นๆ เพื่อให้เด็กเห็นภาพชัดขึ้น เกิดทักษะต่างๆ คือ
  • E (engineering) = โครงส้ราง
  • S (Science) = ดินน้ำมัน ไม้
  • T (technology) = การนำเสนอ
  • M (mathematics) = จำนวนนับไม้ จำนวนมุม ความสั้น ยาว การวัด รูปทรง
ภาพกิจกรรมต่าง ๆ







  • การจัดประสบการณ์คณิตศาตร์บรูณาการศิลปะสร้างสรรค์
- การสร้างโมเดลโครงสร้างรูปทรง ให้เด็กต่อเติมเป็นรูปต่างๆ ผ่านศิลปะ
-ให้เด็กวาดภาพตามจินตนาการ แล้วนำมาบรูณาการคณิตศาสตร์ ได้ 2 แบบ คือ
     1. ถามเด็กโดยตั้งจำนวนก่อน เช่น ในภาพของเด็กๆ มีอะไรบ้างที่มี 3 จำนวน
     2. ให้เด็กนับจำนวนจากสิ่งที่เด็กวาดว่ามีจำนวนเท่าไหร่
ครูอนุบาลต้องดึงสิ่งที่เด็กมีออกมาและจัดประสบการณ์ การจัดประสบการณ์นั้นต้องสอดคล้องกับชีวิตประจำวันเพราะ
ประสบการณ์เดิม >> สู่ประสบการณ์ใหม่ >> สู่การปรับโครงสร้าง >> การรับรู้ >> เกิดการเรียนรู้ >> เพื่อเอาตัวรอด

ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการแก้ปัญหา
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะรูปทรง
  • ทักษะการตอบคำถาม
การนำมาประยุกต์ใช้
  • วิธีการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กนั้นเราต้องดึงสิ่งที่เด็กมีออกมา แล้วนำมาจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็กให้เด็กสามารถดึงทุกอย่างมาบูรณาการในคณิตศาสตร์ได้ 

บรรยากาศในห้องเรียน
  • โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี

การจัดการเรียนการสอน
  • มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้ลงมือทำจริง ได้คิด วิเคราะห์ และรู้จักการลองผิดลองถูก การแก้ปัญหา

ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                       
ประเมินเพื่อน
  • มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน 

การเรียนครั้งที่ 5

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
เวลา13.30 - 17.30 น.





เนื้อหาที่เรียน  ความรู้ที่ได้รับ
           อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้นักศึกษาวาดตารางที่อาจารย์กำหนดมาให้ ตารางเเรก 2เเถว 10ช่อง ตารางที่สอง 3แถว 10 ช่อง จากนั้นอาจารย์ให้ระบายช่องที่เป็น 2 แถว โดยให้โจทย์ว่า ตารางเเรกให้ระบาย 2 ช่องติดกัน รูปแบบไหนก็ได้ให้ได้มากที่สุด โจทย์ต่อมาคือ ตารางที่สองให้ระบาย 3 ช่องติดกัน รูปแบบไหนก็ได้ให้ได้มากที่สุด 




            จากงานนี้อาจารย์สอนว่า เป็นสิ่งที่นำไปสอนกับเด็กปฐมวัยไม่ได้ ถึงแม้ว่าเด็กได้ลงมือปฏิบัติ แต่งานนี้ไม่ใช่การเรียนรู้ของเด็ก เพราะเด็กไม่ได้ใช้สัมผัสทั้ง 5  เด็กเเค่ได้ลงมือปฏิบัต ลงมือทำเเค่นั้น 
- วิธีการสอน เพื่อให้เชื่อมโยงกับงานนี้ คือให้เล่นบล็อค ให้เด็กลองวางบล็อค แล้วระบายช่องตามรูปร่างของบล็อคที่วาง เด็กได้มีโอกาสลองผิดลองถูก ต้องให้เด็ได้หยิบจับและทดลองได้่ เรียกว่า การสืบเสาะ การหาคำตอบก็จะหาได้หลายวิธีหลายเเบบเกิดจากการนำมาประกอบ


ต่อมาอาจารย์ให้เพื่อนๆ ออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
1. บทความ เรื่อง หลักการสอน คณิตศาสตร์ นำเสนอโดย นางสาวภัทรภรณ์ ญาติสังกัด
2. ตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์ นำเสนอโดย นางสาว พรชนก ไตรวงศ์ตุ้ม
3. วิจัย เรื่อง การวัดค่าประเมินและการเปรียบเทียบ นำเสนอโดย นางสาว ศิริวรรณ สุวรรณสาร

ต่อมาอาจารย์ให้ดูวิดีโอการจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach  


            ในการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ใดๆ ให้แก่เด็ก ครูจะต้องประเมินพัฒนาการว่าเด็กมีความสามารถ มีศักยภาพมากน้อยเพียงใด เพราะเด็กเเต่คนมีพัฒนาการที่เเตกต่างกัน ควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านเพื่อให้การเรียนรู้ของเด็กเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

ทักษะที่ได้รับ
    - ทักษะการคิดสร้างสรรค์ หรือการคิดแตกแขนง
    - ทักษะการวิเคราะห์
    - ทักษะการเเก้ปัญหา

การนำมาประยุกต์ใช้
           สามารถนำเทคนิคการสอนมาปรับและประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ เช่น การต่อรูปทรง การเรียงตัวต่อ แล้วนำมาให้เด็กวาดตามรูปร่างที่เด็กต่อได้ เป็นต้น ใช้วิธีการสอนที่ไม่ใช่ให้เด็กลงมือทำอย่างเดียว ต้องให้ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็ก

บรรยากาศในห้องเรียน
          วันนี้บรรยากาศการเรียนดูครึกครื้น นักศึกษาร่วมกันตอบคำถาม มีอาจารย์สอนเร็วจบเร็ว นักศึกษาก็เข้าใจในเนื้อหาที่อาจารย์สอนอย่างระเอียด

ประเมินวิธีการสอน
         การสอนของอาจารย์จะเน้นกระบวนการคิดและการวิเคราะห์พร้อมให้นักศึกษาตอบคำถามและมีการตั้งคำถามปลายเปิด ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นร่วมตลอด จำลองสถานการณ์การสอนทำให้นักศึกษาได้คิดเเละนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายอย่าง ให้นักศึกษาได้ค้นคว้าหางานมานำเสนอ สอนเจาะลึกทุกเนื้อหา

คุณธรรมจริยธรรม
    - ร่วมทำกิจกรรมกับผู้อื่น
    - มาเรียนตรงเวลา
    - ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
    - แต่งกายถูกต้องตามระเบียบ

การประเมิน
ตนเอง:       ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน ร่วมทำกิจกรรม ตอบคำถามอาจารย์บ่อยครั้ง
เพื่อน:         ช่วยกันตอบคำถาม ตั้งใจฟังอาจารย์
ครูผู้สอน:    แต่งกายสุภาพ อธิบายเจาะลึกเข้าใจง่าย พูดเสียงดังฟังชัด ตั้งใจสอนนักศึกษา